พิธีแบบไทย
การจัดงานพิธีแบบไทย มาตรฐานส่วนใหญ่จะมีครบพิธี ดังนี้
พิธีสงฆ์ จะมีหรือไม่มีก็ได้ เพราะพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบที่คนไทยจะจัดเพื่อเป็นมงคล พิธีสงฆ์เลือกจัดได้ 2 เวลา เช้า 07.00/07.30 น. และ เพล 10.00/10.30 น **การตักบาตรร่วมขันจะจัดเฉพาะพิธีสงฆ์รอบเช้าค่ะ**
พิธีขันหมาก เริ่มจากการแห่ขบวนขันหมากมาบ้านฝ่าย ญ จะได้ยินเสียงโห่กันมาแต่ไกล เพื่อเป็นสัญญาณบ่งบอก "ขันหมากมาแล้ว" เจ้าภาพฝ่าย ญ จะ ได้เตรียมต้อนรับได้ทันเวลา
พิธีรับขันหมาก เจ้าภาพจะจัดหาคู่ที่ดี มาคอยรับพานขันหมาก และก็มอบอังเปา หรือ ของชำร่วยให้เป็นการขอบคุณ
พิธีหมั้น เมื่อได้ฤกษ์มงคล เชิญว่าที่เจ้าสาวเข้ามาทำการหมั้น
พิธีไหว้ผู้ใหญ่ พิธีนี้เป็นการแนะนำคู่สมรสให้รู้จักญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว และในทำนองเดียวกันญาติของ 2 ครอบครัว ให้การต้อนรับสมาชิกใหม่ พร้อมกับ ให้เงินขวัญถุงแก่คูบ่าวสาว ระหว่างพิธี ประเพณีท้องถิ่นบางจังหวัด ก็จะเสริมด้วยการผูกข้อมือ สู่ขวัญ ร่วมด้วย
พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ (รดน้ำสังข์) ธรรมเนียมแบบไทย ถือว่าเป็นพิธีที่สำคัญ หมายถึงคู่บ่าวสาวได้เป็นสามี ภรรยา ถูกต้องตามจารีตประเพณี
พิธีส่งตัว หลังจากจบพิธีรดน้ำสังข์แล้ว เจ้าภาพมักจะทำพิธีส่งตัวบ่าวสาวเข้าห้องหอ